5 เทคนิคเลือก ประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพ คือการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากโรคภัย
หลายคนอาจคิดว่ายังไม่จำเป็นที่จะซื้อ ประกันสุขภาพ เอาไว้ แต่จริงๆ แล้วเราสามารถเจ็บป่วยได้ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม
เพราะเมื่อป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งขึ้นมา บริษัทประกันอาจไม่รับทำประกัน หรือรับทำแต่ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นอยู่ก็ได้ เช่น ถ้าป่วยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนทำประกัน บริษัทจะยกเว้นความคุ้มครองหากผู้ทำประกันต้องรักษาตัวด้วยโรคเบาหวาน
ประกันสุขภาพ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการบริหารทั้งเรื่องการเงินและสุขภาพของเราในตัวเดียว ซึ่งการจะเลือกซื้อประกันสุขภาพสักเล่ม เราควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ ควรทำประกันตั้งแต่ตอนที่อายุยังน้อย เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บก็มักจะตามมาเป็นเงาตามตัว โอกาสที่บริษัทจะรับทำประกันก็น้อยลง ซึ่งประกันสุขภาพบางกรมธรรม์ให้เราทำประกันสุขภาพได้ถึงอายุมาก ๆ เช่น 80 ปี
แต่ต้องมีการทำประกันมาก่อนหน้านั้น และเป็นการต่ออายุในแต่ละปี ซึ่งจะไม่สามารถซื้อได้เลยทันทีเมื่ออายุเรามากถึง 80 ปีแล้ว
ดังนั้น ถ้าอยากให้ตัวเองมีความคุ้มครองสุขภาพเมื่ออายุมากขึ้น ก็ควรวางแผนทำประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
และควรดูระยะเวลาในสัญญากรมธรรม์ให้สอดคล้องกับอายุที่จะให้คุ้มครองตามระยะเวลาที่ต้องการ
1. เบี้ยประกัน
คือ เงินที่เราจ่ายให้บริษัทประกันเพื่อซื้อความคุ้มครอง
โดยค่าเบี้ยจะเปลี่ยนไปตามความเสี่ยงในแต่ละช่วงอายุของผู้ซื้อ เพศ สุขภาพ อาชีพ การดำเนินชีวิต และอายุ
เราจึงควรกำหนดงบประมาณที่เราสามารถจ่ายได้ทุกปี โดยค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม ควรจ่ายไม่เกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี
2. วงเงินความคุ้มครอง
ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองสูงจะได้ไม่ต้องเสียเงินส่วนเกินอีก
อย่างเช่นประกันสุขภาพแบบวงเงินสูง หรือแบบเหมาจ่ายค่ารักษา เพราะหากค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงมากกว่าวงเงินคุ้มครอง เราก็ต้องจ่ายส่วนต่าง การเงินก็อาจสะดุดแน่นอน
3. ความเสี่ยง
จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงในเรื่องของสุขภาพส่วนตัว เช่นกรรมพันธุ์ หรือโรคประจำตัว
เนื่องจากประกันเเต่ละบริษัทครอบคลุมไม่เหมือนกัน หากรู้เราว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคใด ก็ซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคนั้นเอาไว้ด้วย
4. รายการความคุ้มครอง
ควรเลือกประกันสุขภาพที่คุ้มครองทั้งผู้ป่วยใน (IPD) ในกรณีนอนพักรักษาที่โรงพยาบาล (อย่างน้อย 6 ชั่วโมง)
ผู้ป่วยนอก (OPD) กรณีที่ไม่ได้นอนพักฟื้นในโรงพยาบาล
และควรใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับผลประโยชน์ความคุ้มครองที่เราเลือกซื้อไว้ เขียนโน้ตไว้ตรงที่สำคัญๆ และไฮไลต์ด้วยปากกาไว้ เราจะได้มาเปิดอ่านได้ง่ายขึ้น
5 ถามคำถาม
ควรสอบถามรายละเอียดความคุ้มครองให้เข้าใจกับตัวแทนประกัน หรือบริษัทประกันที่ท่านซื้อไว้ หากท่านยังไม่เข้าใจดีพอ
เพราะกรมธรรม์ประกันชีวิต จะมีศัพท์เฉพาะทาง หรือเงื่อนไขข้อยกเว้นบางอย่าง ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจให้ชัดเจน
ดูแบบประกันสุขภาพเพิ่มเติม
ประโยชน์ของการทำประกันสุขภาพ
การประกันภัยสุขภาพ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการบาดเจ็บทางร่างกายเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยจากโรคภัย
และหากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ตามวงเงินความคุ้มครองที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์นั้น
ความคุ้มครองเลือกซื้อได้
กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล คุ้มครองให้ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ดังนี้
1. การรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) เกิน 6 ชั่วโมง ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน สำหรับค่าใช้จ่าย ได้แก่
1.1 ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล
1.2 ค่าบริการทั่วไป
1.3 ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลหรือผ่าตัดฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากเกิดอุบัติเหตุ
2. การรักษาพยาบาลโดยการผ่าตัด ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก
2.1 การผ่าตัดโดยแพทย์หรือศัลยแพทย์
2.2 การปรึกษาแพทย์ในกรณีมีการผ่าตัด
3. การดูแลโดยแพทย์ ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการดูแลโดยแพทย์ของโรงพยาบาลแต่ละวัน หรือค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค
4. การรักษาพยาบาลที่ไม่ได้อยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยนอก) ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่คลินิกหรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
5. บางกรมธรรม์ยังมีให้เลือกความคุ้มครองการคลอดบุตร ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
6. การรักษาฟัน
เป็นการรักษาการทำฟัน ขูดหินปูน ค่ารักษาเป็นจะจ่ายเป็นครั้ง เช่นครั้งละ 2,000 บาท
ข้อยกเว้น
กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล โดยปกติแล้วจะมุ่งให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์เป็นสำคัญ
ดังนั้น จึงกำหนดข้อยกเว้นสำหรับค่าใช้จ่ายบางอย่าง และโดยทั่วไปจะไม่คุ้มครองการค่าใช้จ่ายซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่แท้จริง
จึงควรสอบถามบริษัทหรือตัวแทนประกันด้วยว่าประกันสุขภาพที่สนใจจะซื้อมีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง
ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period)
หมายถึง ระยะเวลาที่บริษัทประกันภัยไม่ให้ความคุ้มครอง สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดในช่วงเริ่มต้นที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยปีแรก เนื่องจากโรคบางโรคไม่มีปรากฏอาการให้เห็น หรือบางโรคสามารถรอที่จะทำการรักษาได้ บริษัทประกันภัยมักจะกำหนดระยะเวลาเพื่อป้องกันการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย
ซึ่งระยะเวลาไม่คุ้มครองสำหรับการเจ็บป่วยทั่วไปกำหนดไว้ไม่เกินกว่า 30 วัน ส่วนการบาดเจ็บไม่ให้มีระยะเวลาไม่คุ้มครอง และกำหนดไว้ 120 วัน สำหรับเฉพาะโรคบางโรค คือ เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดขอดที่ขา และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
กำหนดสิทธิให้ผู้เอาประกันภัยบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ แต่บริษัทประกันภัยจะใช้สิทธิในการบอกเลิก สามารถบอกได้เฉพาะกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยทุจริตเท่านั้น
ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 30 วัน หลังจากกรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก
การเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อหรือต้อกระจก การตัดทอนซิลหรืออะดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดที่ขา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่เกิดขึ้นภายในระยะ 120 วัน หลังจากกรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก
การบาดเจ็บ การเจ็บป่วย โรคที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคเรื้อรังที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย และยังรักษาไม่หายก่อนกรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก
การรักษาที่ไม่ใช่ความจำเป็นทางการแพทย์ หรือไม่เป็นมาตรฐานทางการแพทย์
ตรวจรักษา-ผ่าตัดเพื่อเสริมความงาม, การตั้งครรภ์, การแท้งบุตร, การคลอดบุตร, การทำหมัน
การตรวจสุขภาพทั่วไป, การตรวจความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา, ทันตกรรม (ยกเว้นกรณีจำเป็นจากอุบัติเหตุ หรือแผนประกันสุขภาพครอบคลุมทันตกรรม)
การร้องขอผ่าตัด, การพักอยู่เฉย ๆ ในโรงพยาบาล
การรักษาอาการที่เกี่ยวกับภาวะทางจิต, การฆ่าตัวตาย, การทำร้ายร่างกายตนเอง